ปืนเอ็ม 16 เป็นปืนเล็กยาวที่กองทัพบกสหรัฐอเมริกากำหนดขึ้น โดยเรียกชื่อไล่จาก Armalite AR-15 เป็นปืนเล็กยาวจู่โจมที่ยิงด้วยกระสุนขนาด 5.56 x 45 mm. NATO ที่ออกแบบโดยนาย Eugene Stoner ในปีค.ศ. 1950 เดิมใช้เป็นปืนเล็กยาวประจำกายของทหารในกองทัพบกและกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1967โดยเข้าประจำการแทนปืน M14 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 7.62x51 mm. NATO (.308 Winchester) และยังใช้กันอยู่ในกลุ่มประเทศสมาชิกองค์การ NATO ทั้ง 15 ประเทศมาจนถึงปัจจุบัน
ปืน M16 เป็นปืนที่มีน้ำหนักเบา บรรจุกระสุนในซองกระสุน (Magazine) บริหารกลไกด้วยด้วยระบบแรงดันก๊าซ ระบายความร้อนด้วยอากาศ วัสดุที่ใช้ผลิตปืนผสมผสานทั้งเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และพลาสติก
ปืน M16 ผลิตในปีค.ศ. 1963 สังเกตปลอกลดแสง (Flash Hider) ยังเป็นแบบ 3 แฉก (Three-prong Flash Hider) เหมือนของปืน AR-15 อยู่ และไม่มีคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) ติดตั้งมาให้
ปืน M16A1 ผลิตในปีค.ศ. 1967 สังเกตปลอกลดแสง (Flash Hider) จะเป็นซี่คล้ายกรงนกมีรูลดแสง 4 รู("Bird Cage" Flash Hider) และมีคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) ติดตั้งมาให้แล้ว
คันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) มีในปืน M16A1 เป็นต้นมา ใช้สำหรับดันหน้าลูกเลื่อนให้เข้าที่ก่อนทำการยิง ในกรณีที่ไม่ต้องการให้เกิดเสียงดังจากการดึงคันรั้งลูกเลื่อนเพื่อขึ้นลำปืน
ซองกระสุนแบบ STANAG 4179 ซองกระสุนความจุ 20 นัดผลิตโดยบริษัท Colt ประเทศสหรัฐอเมริกา และซองกระสุนความจุ 30 นัดผลิตโดยบริษัท Heckler&Koch หรือ H&K ประเทศเยอรมนี โดยทาง H&K เรียกซองกระสุนรุ่นนี้ว่า "High Reliability"
กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO บรรจุในแมกกาซีนความจุ 30 นัด
ปืน M16 นี้พัฒนาขึ้นโดยกองทัพบกสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่ได้นำไปประเดิมใช้เป็นครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ซึ่งแต่เดิมนั้น ปืน M16 ออกแบบและผลิตโดยบริษัทอาร์มาไลต์ (Armalite) ในปีค.ศ.1958 โดยเรียกว่าปืนรุ่นนี้ว่า AR-15 สำหรับปืนไรเฟิลอัตโนมัติ AR-15 นี้เป็นปืนไรเฟิลซ้อมยิงที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปืน M16 ในปัจจุบันนี้ และได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธปืนประจำกายของหน่วยแพทย์ทหารเสนารักษ์และหน่วยสนับสนุนการรบต่างๆในช่วงสงครามเกาหลีด้วย แต่เนื่องจากตัวปืนนั้นมีปัญหาเรื่องลำกล้องปืนมักจะบวมและแตกร้าวเมื่อมีการยิงต่อเนื่องนานๆ จึงทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาน้อยมาก
ต่อมาเมื่อบริษัท Armalite ได้ขายแบบแปลนปืน AR-15 ให้แก่บริษัทโคลต์ (Colt Firearms) ปืน AR-15 ก็ได้รับการพัฒนาจนออกมาเป็นปืน M16 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯในปีค.ศ.1964 ส่วนทางกองทัพบกสหรัฐฯก็ได้นำปืน M16 มาพัฒนาต่อเป็นปืน XM16E1 ซึ่งได้เพิ่มระบบคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) เข้ามาและเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ""US Rifle, 5.56mm, M16A1" ในปีค.ศ. 1967 และยังมีการเปิดสายการผลิตปืน M16 ในรูปแบบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก
ต่อมาในปีค.ศ. 1981 บริษัทโคลต์จึงได้พัฒนาและปรับปรุงปืน M16A1 จนออกมาเป็นปืน M16A1E1 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่นใหม่คือกระสุน M855 Ball หรือ SS-109 ซึ่งมีความแม่นยำและอานุภาพทำลายล้างมากกว่าเดิม จนในปีค.ศ. 1982 หน่วย US Department of Defense (US DoD)จึงได้บรรจุปืน M16 รุ่นนี้เข้าประจำการและเรียกในชื่อใหม่ว่า "US Rifle, 5.56mm, M16A2" ซึ่งปืน M16A2 นี้สามารถยิงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ครั้งละ 1 นัด/ครั้ง และแบบอัตโนมัติชุดละ 3 นัด (Burst Auto) โดยมีคันบังคับการยิงให้จัดเลือกอยู่ทางด้านซ้ายเหนือด้ามปืน ซึ่งต่างจากปืน M16A1 ตรงที่แบบอัตโนมัติของรุ่น A1 จะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) กล่าวคือปืนจะทำการยิงตามวงรอบการทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ยิงจะเลิกเหนี่ยวไกปืนหรือจนกว่ากระสุนจะหมดซองกระสุน มิใช่ยิงเป็นชุดเพียง 3 นัดเท่านั้น ไม่ว่าผู้ยิงจะเหนี่ยวไกค้างไว้หรือไม่ก็ตาม
ในปีค.ศ. 1994 ทางบริษัทโคลต์ได้มีการปรับปรุงสมรรถภาพของปืน M16A2 อีกครั้งเป็นรุ่น A3 และ A4 ตามลำดับ โดยปืน M16A3 นั้นสามารถยิงได้สองโหมดคือ ยิงทีละนัด (Semi-Auto)และยิงอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto)เท่านั้น ส่วนปืน M16A4 นั้นรูปร่างก็มิได้แตกต่างไปจากรุ่น A3 เพียงแต่จะยิงได้สองโหมดนี้คือ โหมดยิงทีละนัด (Semi-Auto) และแบบอัตโนมัติชุดละ3นัด (Three-Burst Auto) เพียงเท่านั้น โดยทั้งรุ่น A3 และ A4 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ A2 ทุกประการแต่สามารถถอดด้ามหูหิ้ว (Flat Top Recceiver)ออกเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ในขณะที่ A2 จะเป็นแบบติดตั้งตายตัว
ในช่วงทศวรรษ 1980 ปืน M16A1 ติดขาทรายและปืนกลเบา M60 จะถูกแทนที่ด้วยปืนกลเบา SAW M249 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่น M855 Ball เช่นเดียวกับปืน M16A2 เพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธและลดภาระในการจัดส่งกระสุนและเสบียงเข้าสู่สนามรบของหน่วยพลาธิการ ครั้นถึงทศวรรษ 1990 ปืน M16A2 จำนวนมากเริ่มถูกแทนที่ด้วยปืน M4 Carbine ซึ่งปรับปรุงมาจากปืน M16 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวในการรบในที่แคบหรือในอาคารต่างๆ
[แก้] ลักษณะโดยทั่วไป
ปืน M16A1 ติดตั้งพร้อมเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. M203
ปืน M16A2
ปืน M16A2 (ล่าง) และปืน XM-177E1 (บน) โดยปืน XM-177E1 ได้รับการพัฒนามาจากปืน CAR-15 โดยบริษัท Colt และกลายมาเป็นปืน M4A1 ในปัจจุบัน
ปืน M16A4
ด้ามหูหิ้ว (Flat Top Receiver) ของปืน M16A3 และ M16A4 ซึ่งสามารถถอดออกได้
ปืน M4A1
ปืน M16 โดยทั่วไปผลิตชิ้นส่วนขึ้นจากวัสดุต่างๆดังนี้คือ ปลอกลดแสง ลำกล้อง โครงปืน และชิ้นส่วนในระบบลั่นไกผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียมทำให้ระบายความร้อนได้เร็วและมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง ในส่วนของพานท้ายและฝาครอบลำกล้องทำจากพลาสติกไฟเบอร์ทนความร้อน ทำให้ปืน M16 รุ่นแรกๆ นั้นมีน้ำหนักเบาเพียง 3.60 กิโลกรัมเท่านั้น (น้ำหนักปืนพร้อมแมกกาซีน 30 นัด) ซึ่งเบากว่าปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นก่อนๆอย่างปืน M14 ถึง 30% ในขณะที่ปืนอาก้า (AK-47) จากรัสเซียที่นิยมกันในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นมีน้ำหนักถึง 4.30 กิโลกรัม แต่ปืน M16 รุ่นหลังจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 3.77 กิโลกรัมเท่านั้นเนื่องจากการออกแบบให้ลำกล้องและโครงปืนมีความแข็งแรงมากขึ้นจึงทำให้น้ำหนักมากตามไปด้วย โดยตั้งแต่ปืน M16A2 เป็นต้นไปจะมีการออกแบบให้ปลอกลดแสงมีรูระบายเพียง 3 รูเท่านั้นเพื่อให้แรงดันก๊าซกดปากกระบอกมิให้เชิดหัวขึ้นเวลาทำการยิง เพื่อต้องการความแม่นยำสูงขึ้น และมีความยาวของปืนเพิ่มเป็น 40 นิ้ว (1.06 เมตร) มีลำกล้องยาว 20 นิ้ว(508 มิลลิเมตร)
ปืน M16 เป็นปืนที่มีน้ำหนักเบา บรรจุกระสุนในซองกระสุน (Magazine) บริหารกลไกด้วยด้วยระบบแรงดันก๊าซ ระบายความร้อนด้วยอากาศ วัสดุที่ใช้ผลิตปืนผสมผสานทั้งเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และพลาสติก
ปืน M16 ผลิตในปีค.ศ. 1963 สังเกตปลอกลดแสง (Flash Hider) ยังเป็นแบบ 3 แฉก (Three-prong Flash Hider) เหมือนของปืน AR-15 อยู่ และไม่มีคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) ติดตั้งมาให้
ปืน M16A1 ผลิตในปีค.ศ. 1967 สังเกตปลอกลดแสง (Flash Hider) จะเป็นซี่คล้ายกรงนกมีรูลดแสง 4 รู("Bird Cage" Flash Hider) และมีคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) ติดตั้งมาให้แล้ว
คันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) มีในปืน M16A1 เป็นต้นมา ใช้สำหรับดันหน้าลูกเลื่อนให้เข้าที่ก่อนทำการยิง ในกรณีที่ไม่ต้องการให้เกิดเสียงดังจากการดึงคันรั้งลูกเลื่อนเพื่อขึ้นลำปืน
ซองกระสุนแบบ STANAG 4179 ซองกระสุนความจุ 20 นัดผลิตโดยบริษัท Colt ประเทศสหรัฐอเมริกา และซองกระสุนความจุ 30 นัดผลิตโดยบริษัท Heckler&Koch หรือ H&K ประเทศเยอรมนี โดยทาง H&K เรียกซองกระสุนรุ่นนี้ว่า "High Reliability"
กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO บรรจุในแมกกาซีนความจุ 30 นัด
ปืน M16 นี้พัฒนาขึ้นโดยกองทัพบกสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1950 ขณะที่ได้นำไปประเดิมใช้เป็นครั้งแรกในสงครามเวียดนาม ซึ่งแต่เดิมนั้น ปืน M16 ออกแบบและผลิตโดยบริษัทอาร์มาไลต์ (Armalite) ในปีค.ศ.1958 โดยเรียกว่าปืนรุ่นนี้ว่า AR-15 สำหรับปืนไรเฟิลอัตโนมัติ AR-15 นี้เป็นปืนไรเฟิลซ้อมยิงที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับปืน M16 ในปัจจุบันนี้ และได้เข้าประจำการในฐานะอาวุธปืนประจำกายของหน่วยแพทย์ทหารเสนารักษ์และหน่วยสนับสนุนการรบต่างๆในช่วงสงครามเกาหลีด้วย แต่เนื่องจากตัวปืนนั้นมีปัญหาเรื่องลำกล้องปืนมักจะบวมและแตกร้าวเมื่อมีการยิงต่อเนื่องนานๆ จึงทำให้มียอดสั่งซื้อเข้ามาน้อยมาก
ต่อมาเมื่อบริษัท Armalite ได้ขายแบบแปลนปืน AR-15 ให้แก่บริษัทโคลต์ (Colt Firearms) ปืน AR-15 ก็ได้รับการพัฒนาจนออกมาเป็นปืน M16 และเข้าประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯในปีค.ศ.1964 ส่วนทางกองทัพบกสหรัฐฯก็ได้นำปืน M16 มาพัฒนาต่อเป็นปืน XM16E1 ซึ่งได้เพิ่มระบบคันส่งลูกเลื่อน (Forward Assist Assembly) เข้ามาและเข้าประจำการในกองทัพบกสหรัฐฯพร้อมทั้งเรียกชื่อใหม่ว่า ""US Rifle, 5.56mm, M16A1" ในปีค.ศ. 1967 และยังมีการเปิดสายการผลิตปืน M16 ในรูปแบบอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก
ต่อมาในปีค.ศ. 1981 บริษัทโคลต์จึงได้พัฒนาและปรับปรุงปืน M16A1 จนออกมาเป็นปืน M16A1E1 เพื่อรองรับกระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่นใหม่คือกระสุน M855 Ball หรือ SS-109 ซึ่งมีความแม่นยำและอานุภาพทำลายล้างมากกว่าเดิม จนในปีค.ศ. 1982 หน่วย US Department of Defense (US DoD)จึงได้บรรจุปืน M16 รุ่นนี้เข้าประจำการและเรียกในชื่อใหม่ว่า "US Rifle, 5.56mm, M16A2" ซึ่งปืน M16A2 นี้สามารถยิงได้เพียง 2 รูปแบบ คือ แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-Auto) ครั้งละ 1 นัด/ครั้ง และแบบอัตโนมัติชุดละ 3 นัด (Burst Auto) โดยมีคันบังคับการยิงให้จัดเลือกอยู่ทางด้านซ้ายเหนือด้ามปืน ซึ่งต่างจากปืน M16A1 ตรงที่แบบอัตโนมัติของรุ่น A1 จะเป็นแบบอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto) กล่าวคือปืนจะทำการยิงตามวงรอบการทำงานไปเรื่อยๆจนกว่าผู้ยิงจะเลิกเหนี่ยวไกปืนหรือจนกว่ากระสุนจะหมดซองกระสุน มิใช่ยิงเป็นชุดเพียง 3 นัดเท่านั้น ไม่ว่าผู้ยิงจะเหนี่ยวไกค้างไว้หรือไม่ก็ตาม
ในปีค.ศ. 1994 ทางบริษัทโคลต์ได้มีการปรับปรุงสมรรถภาพของปืน M16A2 อีกครั้งเป็นรุ่น A3 และ A4 ตามลำดับ โดยปืน M16A3 นั้นสามารถยิงได้สองโหมดคือ ยิงทีละนัด (Semi-Auto)และยิงอัตโนมัติเต็มตัว (Full-Auto)เท่านั้น ส่วนปืน M16A4 นั้นรูปร่างก็มิได้แตกต่างไปจากรุ่น A3 เพียงแต่จะยิงได้สองโหมดนี้คือ โหมดยิงทีละนัด (Semi-Auto) และแบบอัตโนมัติชุดละ3นัด (Three-Burst Auto) เพียงเท่านั้น โดยทั้งรุ่น A3 และ A4 มีลักษณะภายนอกคล้ายกับ A2 ทุกประการแต่สามารถถอดด้ามหูหิ้ว (Flat Top Recceiver)ออกเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆได้ในขณะที่ A2 จะเป็นแบบติดตั้งตายตัว
ในช่วงทศวรรษ 1980 ปืน M16A1 ติดขาทรายและปืนกลเบา M60 จะถูกแทนที่ด้วยปืนกลเบา SAW M249 ซึ่งใช้กระสุนขนาด 5.56x45 mm. NATO รุ่น M855 Ball เช่นเดียวกับปืน M16A2 เพื่อเพิ่มอานุภาพของอาวุธและลดภาระในการจัดส่งกระสุนและเสบียงเข้าสู่สนามรบของหน่วยพลาธิการ ครั้นถึงทศวรรษ 1990 ปืน M16A2 จำนวนมากเริ่มถูกแทนที่ด้วยปืน M4 Carbine ซึ่งปรับปรุงมาจากปืน M16 เพื่อเพิ่มสมรรถนะและความคล่องตัวในการรบในที่แคบหรือในอาคารต่างๆ
[แก้] ลักษณะโดยทั่วไป
ปืน M16A1 ติดตั้งพร้อมเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. M203
ปืน M16A2
ปืน M16A2 (ล่าง) และปืน XM-177E1 (บน) โดยปืน XM-177E1 ได้รับการพัฒนามาจากปืน CAR-15 โดยบริษัท Colt และกลายมาเป็นปืน M4A1 ในปัจจุบัน
ปืน M16A4
ด้ามหูหิ้ว (Flat Top Receiver) ของปืน M16A3 และ M16A4 ซึ่งสามารถถอดออกได้
ปืน M4A1
ปืน M16 โดยทั่วไปผลิตชิ้นส่วนขึ้นจากวัสดุต่างๆดังนี้คือ ปลอกลดแสง ลำกล้อง โครงปืน และชิ้นส่วนในระบบลั่นไกผลิตขึ้นจากเหล็กกล้าผสมอะลูมิเนียมทำให้ระบายความร้อนได้เร็วและมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง ในส่วนของพานท้ายและฝาครอบลำกล้องทำจากพลาสติกไฟเบอร์ทนความร้อน ทำให้ปืน M16 รุ่นแรกๆ นั้นมีน้ำหนักเบาเพียง 3.60 กิโลกรัมเท่านั้น (น้ำหนักปืนพร้อมแมกกาซีน 30 นัด) ซึ่งเบากว่าปืนเล็กยาวจู่โจมรุ่นก่อนๆอย่างปืน M14 ถึง 30% ในขณะที่ปืนอาก้า (AK-47) จากรัสเซียที่นิยมกันในกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ในเวลานั้นมีน้ำหนักถึง 4.30 กิโลกรัม แต่ปืน M16 รุ่นหลังจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 3.77 กิโลกรัมเท่านั้นเนื่องจากการออกแบบให้ลำกล้องและโครงปืนมีความแข็งแรงมากขึ้นจึงทำให้น้ำหนักมากตามไปด้วย โดยตั้งแต่ปืน M16A2 เป็นต้นไปจะมีการออกแบบให้ปลอกลดแสงมีรูระบายเพียง 3 รูเท่านั้นเพื่อให้แรงดันก๊าซกดปากกระบอกมิให้เชิดหัวขึ้นเวลาทำการยิง เพื่อต้องการความแม่นยำสูงขึ้น และมีความยาวของปืนเพิ่มเป็น 40 นิ้ว (1.06 เมตร) มีลำกล้องยาว 20 นิ้ว(508 มิลลิเมตร)
..................................................................................................................................................
M16A1 rifle with 30 rounds magazine and a 40mm M203 grenade launcher attached (circa mid-1970s)